การออกแบบการเรียนรู้
เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้
ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล
ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย
แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ
ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1. ความสามารถในการอธิบาย
ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
ครูผู้สอน: WHERE: การออกแบบการเรียนรู้
W
Where are we heading? เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน
H
Hook the student through provocative entry points ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ
E
Explore and Enable การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด
ทฤษฎี และการนำไปใช้
R
Reflection and Rethink การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ
E
Exhibit and Evaluate การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นสภาพความเป็นจริง
การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้องควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์
การวิเคราะห์(Analysis)
* ประเมินความต้องการ * ประวัติผู้เรียน
กระบวนการกำหนดสิ่งที่เรียน * ระบุปัญหา * คำอธิบายเงื่อนไข
* วิเคราะห์ภารกิจ *
ข้อความระบุ-
ความต้องการ, ปัญหา
การออกแบบ(Design) * เขียนวัตถุประสงค์ * วัตถุประสงค์ที่วัดผลได้
กระบวนการกำหนด –
* พัฒนาข้อทดสอบ * กลยุทธ์การสอน
วิธีเรียน * วางแผนการสอน * รายละเอียดข้อกำหนด-
* กำหนดทรัพยากร
ต้นแบบ
การพัฒนา (Development) * ทำงานร่วมกับผู้ผลิต * ป้ายเรื่อง
กระบวนการประพันธ์ * พัฒนาสมุดแบบฝึกหัด, * บท
และผลิตสื่อ
ผังงาน, โปรแกรม * รายละเอียดข้อกำหนด-
ของต้นแบบ
การดำเนินการให้เป็นผล * ฝึกอบบรมผู้สอน * ข้อเสนอแนะของผู้เรียน,
(Implementation) * ทดสอบ ข้อมูลต่างๆ
กระบวนการติดตั้งดำเนินการ
โครงการในบริบทที่เป็นสภาพจริง
การประเมินผล(Evaluation) * บันทึกข้อมูลเวลา * ข้อเสนอแนะ
กระบวนการวินิจฉัย-
* แปลผลผลลัพธ์การทดสอบ * รายงานของโครงการ
ความเพียงพอของการสอน * สำรวจการสำเร็จการศึกษา * ต้นแบบที่ปรับปรุงแล้ว
* ปรับปรุงกิจกรรม
แบบจำลอง ADDIE
เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป
ที่ขั้นตอนก่อนหน้า ผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆ
เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป
การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
(Instructional
System Design (ISD): Using the ADDIE Model)
การวิเคราะห์(Analysis)
ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้
คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา
และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ
เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย
เป้าหมาย (goal), และรายการภารกิจที่จะสอน
ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
การออกแบบ (Design)
ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์
เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน
ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย, การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน, การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบ, เลือกระบบการนำส่ง
และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป
การพัฒนา (Development)
ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง
หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้
การประเมินผล (Evaluation)
ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ
ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ
และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล
อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative
evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative
evaluation)
การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation):
ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล
การประเมินผลรวม (Summative evaluation):
โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว
การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)
การออกแบบ (Design) เป็นกระบวนการของมนุษย์ทางด้านความรู้
ทักษะ และประสบการณ์ในการยกระดับความสามารถของตนเอง เพื่อดำเนินกิจกรรมใด ๆ
ภายใต้สภาพแวดล้อมและความต้องการ การออกแบบจึงเป็นกระบวนการที่มีเหตุผลเป็นตรรกะ
และมีลำดับขั้น จุดมุ่งหมายของการออกแบบก็เพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยพิจารณาจากความต้องการ เพื่อกำหนดรายละเอียดของระบบใหม่ การออกแบบระบบการเรียนการสอนถือว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีกระบวนการ
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำระบบการเรียนการสอนไปใช้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism
1 การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย
เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional Design and Developmen)
เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด
แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ
มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach) (ฉลอง, 2551)
แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน
โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน
และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ
โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ
รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional
Design Systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง
ๆ
ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึงปัจจุบัน
นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ
รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบและการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์
ที่เชื่อได้ว่า
ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด
ทิศนา (2548)
ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน(Teaching/Instructional
Model) คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดระบบอย่างสัมพันธ์กับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ
และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ
โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด
ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น
ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของ Bruner
Jerome Bruner เป็นนักจิตวิทยาแนวพุทธิปัญญา
ที่เน้นที่พัฒนาการเกี่ยวกับความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจของผู้เรียนประกอบกับการจัดโครงสร้างของเนื้อหาที่จะเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
และได้เสนอทฤษฎีการสอน (Theory of Instruction)
2.1.3.1 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
NECTEC’s Web based Learning ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตามทฤษฎีของBruner
ไว้ดังนี้
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง
ๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
2 รูปแบบการเรียนที่พัฒนาโดย Gagnon.Jr.,
และ Collay ในรูปแบบการเรียนนี้
ครูจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
2.1.7.2.1 พัฒนาการอธิบายให้เหมาะสมกับนักเรียน
2.1.7.2.2 เลือกกระบวนการสำหรับกลุ่ม
วัสดุการศึกษาและนักเรียน
2.1.7.2.3 เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนพร้อมที่รู้กับสิ่งที่ครูต้องการให้เรียน
2.1.7.2.4 เตรียมคำถามล่วงหน้าในการถามตอบและต้องมีการอธิบายคำตอบ
2.1.7.2.5 จูงใจผู้เรียนให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมกันแสดงความคิดกับคนอื่น
2.1.7.2.6 เรียกร้องให้นักเรียนสะท้อนสิ่งที่เรียนออกมา
2.1.7.3 Mcclintock และ Black จาก Columbia University Teacher College ได้ออกแบบ
รูปแบบการเรียนจากสภาพแวดล้อมในการสนับสนุนการเรียนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ที่ โรงเรียน Dalton
ในรัฐ New York รูปแบบ The Information
Construction (ICON) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน:
2.1.7.3.1 การสังเกต :
นักเรียนจะสังเกตจากแหล่งสื่อที่เป็นปฐมภูมิในบริบทที่เป็น
ธรรมชาติ หรือสถานการณ์จำลอง
2.1.7.3.2 การตีความ : นักเรียนตีความสิ่งที่สังเกตและอธิบายเหตุผล
2.1.7.3.3 สภาพแวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย
: นักเรียนสร้างบริบท
การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย
เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional Design and Developmen)
เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด
แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ
มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach) (ฉลอง, 2551)
แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน
โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน
และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ
โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ
รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional
Design Systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง
ๆ
ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึงปัจจุบัน
นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น